ของของเก่า ๆ
บ้านในตลาด แต่อยู่ริมน้ำ
ตลาดโบราณนครเนื่องเขต
ชื่อทางการค้า
ตลาดโบราณ นครเนื่องเขต
ชื่อจริง
ตลาดสี่แยกท่าไข่ คลองนครเนื่องเขต
สถานที่ตั้ง
ตำบลคลองนครเนื่องเขต อำเภอเมือง จังหวัดฉะเขิงเทรา
อายุ
130 ปี
สภาพ
เป็นตลาดห้องแถวเก่าแก่ สภาพเหมือนตลาดเก่า ๆ ทั่วไป
คลองนครเนื่องเขต
คลองนครเนื่องเขตเป็นคลองที่เชื่อมต่อกับคลองแสนแสบ
โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
ได้เคยใช้เป็นเส้นทางเสด็จประพาสต้น กลับสู่กรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2450 และเมื่อวันที่ 20 กันยายน
พ.ศ.2537 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
ได้เสด็จ ฯ โดยประทับเรือพระที่นั่งจากสะพานผ่านฟ้า ล่องตาม
ลำคลองแสนแสบ มาขึ้นจากเรือพระที่นั่งที่ประตูน้ำท่าไข่
ปัจจุบันทางราชการได้กำหนดให้วันที่ 20 กันยายนของทุกปี
เป็น "วันแม่น้ำลำคลองแห่งชาติ"
ประวัติจังหวัด
ในอดีตฉะเชิงเทรามีฐานะเป็นเมืองจัตวาอยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหม
ต่อมาได้ขึ้นอยู่ในสังกัดกรมมหาดไทย ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
จนกระทั่งรัชกาลที่ 5 เมื่อทรงเปลี่ยนแปลงระบบการ ปกครองแผ่นดินใหม่
เมืองฉะเชิงเทรามีฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่งในมณฑลปราจีนบุรี และในปี พ.ศ.2459
จึงได้เปลี่ยนจากเมืองเป็น จังหวัด เรียกว่า "จังหวัดฉะเชิงเทรา" คำว่า "ฉะเชิงเทรา"
เป็นภาษาเขมร แปลว่า คลองลึก
สำหรับชื่อเมืองมีการสัณนิษฐานหลายอย่างบ้างก็ว่าเคยเป็นเมืองหนึ่งที่อยู่
ในอำนาจการปกครองของขอมมาก่อนในสมัยอิทธิพลของอาณาจักรลพบุรี(ขอม)
เมืองฉะเชิงเทราตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำบางปะกง เป็นไปได้ว่าชาวเมืองสมัยโบราณ
อาจจะเรียกชื่อแม่น้ำบางปะกงว่าคลองลึกหรือคลองใหญ่ ตามลักษณะที่มองเห็น
แต่ด้วยอิทธิพลเขมรจึงได้เรียกชื่อแม่น้ำ เป็นภาษาเขมรว่า"สตึงเตรง
หรือ ฉทรึงเทรา" ซึ่งแปลว่า คลองลึก นั่นเอง ครั้นเรียกกันไปนาน ๆ เสียงเลย
เพี้ยนกลายเป็น "ฉะเชิงเทรา"
แต่ก็มีความเห็นอื่นที่แตกต่างออกไปว่าชื่อ "ฉะเชิงเทรา" น่าจะเพี้ยนมาจาก
"แสงเชรา" หรือ "แซงเซา" หรือ "แสงเซา" อันเป็นชื่อเมืองที่สมเด็จ-
พระบรมราชาธิราช เสด็จไปตีได้ตามที่พระราชพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐ
กล่าวไว้มากกว่า
แหล่งที่มา : ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
ที่มาคำว่า แปดริ้ว
ส่วนความเป็นมาของชื่อ “แปดริ้ว” ก็มีตำนานเล่าขานกันมาหลายกระแสไม่แพ้กัน
บ้างก็ว่าเมืองนี้แต่ไหนแต่ไรมา เป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ ในลำน้ำอุดมสมบูรณ์ด้วนสัตว์
น้ำนานาชนิด โดยเฉพาะปลาช่อนซึ่งเป็นปลาน้ำจืดรสดีนั้นมีชุกชุม และขนาดใหญ่
กว่าในท้องถิ่นอื่นๆ จนเมื่อนำมาแล่เนื้อทำปลาตากแห้ง จะแล่เพียงสี่ริ้วหรือห้าริ้ว
ตามปกติไม่ได้ ต้องแล่ออกถึง “แปดริ้ว” เมืองนี้จึงได้ชื่อว่า “แปดริ้ว” ตาม
ขนาดใหญ่โตของปลาช่อนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเมือง
นอกจากเรื่องปากท้องซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และมีอิทธิพลต่อความคิดของชาวบ้าน
อย่างมากแล้ว นิทานพื้นบ้าน ซึ่งมีเนื้อเรื่อง ค่อนข้างผาดโผนก็มีส่วนสร้าง
ความเชื่อถือในเรื่องชื่อเมืองได้เหมือนกัน คนในท้องถิ่นพนมสารคามเล่าถึงเรื่อง
“พระรถ-เมรี” ซึ่งเป็นนิทานเรื่องหนึ่งในปัญญาสชาดกว่า ยักษ์ได้ฆ่านางสิบสอง
แล้วลากศพไปยังท่าน้ำ ในบริเวณที่เป็นคลอง“ท่าลาด” แล้วชำแหละศพออกเป็นริ้วๆ
รวมแปดริ้ว แล้วทิ้งลอยไปตามลำน้ำท่าลาด ริ้วเนื้อริ้วหนังของนางสิบสองลอยมา
ออกยัง แม่น้ำบางปะกงไปจนถึงฉะเชิงเทรา เมืองนี้จึงได้ชื่อว่า “แปดริ้ว”
แหล่งที่มา :ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
คำขวัญ
เนื่องจากตลาดอยู่ในอำเภอเมือง จึงใช้คำขวัญของอำเภอเมือง
"เมืองธรรมะ พระศักดิ์สิทธิ์ ชิดเมืองหลวง
มะม่วงหวาน ข้าวสารขาว มะพร้าวหอม"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น