วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

สยามสี่แยก คลองนครเนื่องเขต

สยามสี่แยก ร้านขายของเก่าที่ตลาดสี่แยกท่าไข่

คลองนครเนื่องเขต หรือ ตลาดโบราณนครเนื่องเขต นั่นเอง


ร้านสยามสี่แยก (ท่าไข่)
qr code http://siam8riew.blogspot.com/


ที่มาของสยามสี่แยก


เตารีดเก่า ๆ ที่ร้านนะ

บริเวณหน้าร้านยามเช้า เป็นห้องแถวเก่า ๆ

ว่าง ๆ ก็แวะมาคุย เจ้าของร้านอัธยาศัยดี

หน้าร้านนะ

ห้องแถวข้างร้าน ยังเงียบ ๆ อยู่นะ

แสตมป์เก่า ดูโบราณดี

นาฬิกาเก่านะ

เจ้าของร้านคงชอบ อุลต้าแมน นะ

และก็คงชอบโค้ก ด้วยเหมือนกัน

โทรศัพท์ เก่า ๆ ก็มี
สะพานข้ามคลอง อันนี้สร้างใหม่
ตรงสะพานนี้ มองไปคลองสี่แยก ร้านจะอยู่ด้านขวา

ร้านอาหารตามสั่ง มีก๋วยเตี๋ยวเป็ดด้วยนะ บรรยากาศดี

บริเวณ หน้าบ้านทนาย (สมัยก่อนเรียกบ้านหมอศักดิ์)

ร้านกาแฟโบราณ ก่อนร้านเปิด มีก๋วยเตี๊ยวไก่ขายด้วย

แถวนี้เมื่อก่อนเป็นท่าจอดรถประจำทางหากมาเที่ยวที่ตลาดเข้าซอยที่สอง มีลานจอดรถ

ห้องแถว บริเวณนี้เรียกว่า กลางตลาด ตลาดที่นี่จะมีเหมือนสองตลาดคือ
ตลาดเก่า บริเวณ ร้านสยามสี่แยกสองฝั่งและตลาดที่สร้างใหม่ จะมีหัวตลาด ท้ายตลาด และกลางตลาด
ข้อแนะนำ หากมาเที่ยวตลาดโบราณ จะมีซอยเข้า 3 ซอย ซอยที่ 1 มีซุ้มเขียนว่า ตลาดโบราณ ที่จอดรถอาจจะไม่ค่อยสะดวก เนื่องจากต้องจอดริมถนน และต้องเดินเข้า แดดร้อน ถ้าจอดไกลมีรถรับส่งซอยที่ 2 หากเลยซุ้มซอยแรก ให้ชลอรถ จะมีลูกศร เขียนว่าทางเข้าตลาดโบราณ มีลานจดรถ กว้าง ที่เป็นท่ารถปรจำทางเก่า เดินเข้ามาจะพบร้านกาแฟโบราณ และก๋วยเตี๋ยวไก่ ร้านกุ้ยช่ายอร่อยซอยที่ 3 หากเลย 2 ซอยมา ถึงโรงงาน ศ.ประภาศิลป์ เป็นทางเข้าวัดบางสาย เข้าได้อีกเช่นกัน จะมีป้ายเขียนไว้เช่นกัน ลงจากรถเดินเข้ามาก็จะพบกับห้องแถว ที่เรียกว่า "กลางตลาด

ข้อควรระวัง สำหรับร้านสยามสี่แยก ควรหลีกเลี่ยงกับการคุยกับเจ้าของร้าน มิฉะนั้นท่านจะไม่ได้ไปไหนเพราะเจ้าของร้านคุยเก่ง อัธยาศัยดีมาก

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

ตลาดสี่แยกท่าไข่ถึงตลาดโบราณ ตอนที่ 1

จากตลาดสี่แยกท่าไข่ ถึง ตลาดโบราณ


คลองนครเนื่องเขต



ห้องแถวเดียวในตลาด หลังคามุงกระเบี้อง


ปัจจุบัน เป็นร้านป้าอร ขายของชำ และขนมแบบไทย ๆ
โรงสีกำนันเอื้ยง ปัจจุบันไม่ได้สีข้าวแล้ว

บรรยากาศสองฝั่งคลองยังไม่มีร่มขายของ






วิถีดั้งเดิม ปัจจุบันยังเป็นแบบนี้






ห้องแถวร้านค้าชุมชน





ร้านตัดผมเก่า ปัจจุบันทำใหม่แล้ว หลังคาสีน้ำเงิน




สะพานข้ามคลอง ท่าเทียบเรือ



ริมน้ำท่าเทียบเรือ บริเวณทางเดินริมคลอง



ตรงนี้เรียกว่า กลางตลาด เมื่อก่อนมีร้านขายผัก ขายหมู


ร้านก๋วยเตี๋ยว แม่ค้าผัก หน้าตลาดนี้


ปัจจุบันขายสินค้า Otop



ร้าน ช. การช่าง สมัยก่อนเป็นร้านซ่อมเครื่องเรือ


ปัจจุบันเจ้าของไม่ได้อยู่ทีนี้แล้ว แต่หน้าร้านมีอาหารขาย





ส. เสนีย์ พาณิชย์


ปัจจุบันเป็น บ้านเลขที่ ๑ ขายของมากมาย มีปากหม้อน้ำขายด้วย




บ้านหมอศักดิ์ (ทนายความ) ปัจจุบัน เป็นบ้านทนาย


คนตลาดเมื่อก่อนเรียกทนายความ ว่าหมอ หมายถึงหมอความ



ริมน้ำท่าเทียบเรือ จะมีแม่ค้าขายของมานานแล้ว


ปัจจุบัน เป็นท่าจอดเรือขายของ มีแม่ค้าหลายเจ้าขายอย่างถาวร



ไปรษณีย์เก่า ปัจจุบัน พังแล้ว น่าเสียดาย เห็นมาเกิน 50 ปีมั้ง




วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

รถเมล์ไปตลาดสี่แยกท่าไข่ นครเนื่องเขต

เมื่อรถเมล์สายตลาดสดสนามเป้า ผ่านตลาดสี่แยกท่าไข่ คลองนครเนื่องเขต
บางคนคิดว่าตลาดนี้เป็นตลาดน้ำ แบบตลาดน้ำบางคล้า
บางคนคิดว่าเป็นตลาดบกแบบตลาดบ้านใหม่
อยากรู้ต้องไปพิสูจน์เองนะจ๊ะ

เมื่อรถเมล์ไปตลาดโบราณนครเนื่องเขต

ทักทายกับร้านค้าในตลาดโบราณนครเนื่องเขต


สภาพตลาดเป็นห้องแถวแบบเก่า ๆ สภาพยังไม่เปลี่ยนเหมือนเดิม


เรือกาแฟลุงตี๋ กับสภาพบ้านเรือนริมสองฝั่งคลอง

ของที่ขายในตลาด logo คุ้น ๆ

บริเวณที่ขายของ เหมือนตลาดน้ำ

ร้านขายของเก่า

ห้องแถวเก่า ในตลาด

ห้องแถวนี้เป็นห้องแถวเดียวในตลาดที่ หลังคามุงกระเบี้อง

ตลาดโบราณนครเนื่องเขต

ร้าน สยามสี่แยก

ของของเก่า ๆ
บ้านในตลาด แต่อยู่ริมน้ำ


บ้านริมน้ำ บรรยากาศคล้ายตามคลองแถวเมืองนนท์


ตลาดโบราณนครเนื่องเขต

ชื่อทางการค้า
ตลาดโบราณ นครเนื่องเขต
ชื่อจริง
ตลาดสี่แยกท่าไข่ คลองนครเนื่องเขต
สถานที่ตั้ง
ตำบลคลองนครเนื่องเขต อำเภอเมือง จังหวัดฉะเขิงเทรา
อายุ
130 ปี
สภาพ
เป็นตลาดห้องแถวเก่าแก่ สภาพเหมือนตลาดเก่า ๆ ทั่วไป

คลองนครเนื่องเขต

คลองนครเนื่องเขตเป็นคลองที่เชื่อมต่อกับคลองแสนแสบ
โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
ได้เคยใช้เป็นเส้นทางเสด็จประพาสต้น กลับสู่กรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2450 และเมื่อวันที่ 20 กันยายน
พ.ศ.2537 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
ได้เสด็จ ฯ โดยประทับเรือพระที่นั่งจากสะพานผ่านฟ้า ล่องตาม
ลำคลองแสนแสบ มาขึ้นจากเรือพระที่นั่งที่ประตูน้ำท่าไข่
ปัจจุบันทางราชการได้กำหนดให้วันที่ 20 กันยายนของทุกปี
เป็น "วันแม่น้ำลำคลองแห่งชาติ"

ประวัติจังหวัด

ในอดีตฉะเชิงเทรามีฐานะเป็นเมืองจัตวาอยู่ในสังกัดกระทรวงกลาโหม
ต่อมาได้ขึ้นอยู่ในสังกัดกรมมหาดไทย ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
จนกระทั่งรัชกาลที่ 5 เมื่อทรงเปลี่ยนแปลงระบบการ ปกครองแผ่นดินใหม่
เมืองฉะเชิงเทรามีฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่งในมณฑลปราจีนบุรี และในปี พ.ศ.2459
จึงได้เปลี่ยนจากเมืองเป็น จังหวัด เรียกว่า "จังหวัดฉะเชิงเทรา" คำว่า "ฉะเชิงเทรา"
เป็นภาษาเขมร แปลว่า คลองลึก

สำหรับชื่อเมืองมีการสัณนิษฐานหลายอย่างบ้างก็ว่าเคยเป็นเมืองหนึ่งที่อยู่
ในอำนาจการปกครองของขอมมาก่อนในสมัยอิทธิพลของอาณาจักรลพบุรี(ขอม)
เมืองฉะเชิงเทราตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำบางปะกง เป็นไปได้ว่าชาวเมืองสมัยโบราณ
อาจจะเรียกชื่อแม่น้ำบางปะกงว่าคลองลึกหรือคลองใหญ่ ตามลักษณะที่มองเห็น

แต่ด้วยอิทธิพลเขมรจึงได้เรียกชื่อแม่น้ำ เป็นภาษาเขมรว่า"สตึงเตรง
หรือ ฉทรึงเทรา" ซึ่งแปลว่า คลองลึก นั่นเอง ครั้นเรียกกันไปนาน ๆ เสียงเลย
เพี้ยนกลายเป็น "ฉะเชิงเทรา"

แต่ก็มีความเห็นอื่นที่แตกต่างออกไปว่าชื่อ "ฉะเชิงเทรา" น่าจะเพี้ยนมาจาก
"แสงเชรา" หรือ "แซงเซา" หรือ "แสงเซา" อันเป็นชื่อเมืองที่สมเด็จ-
พระบรมราชาธิราช เสด็จไปตีได้ตามที่พระราชพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐ
กล่าวไว้มากกว่า

แหล่งที่มา : ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.


ที่มาคำว่า แปดริ้ว

ส่วนความเป็นมาของชื่อ “แปดริ้ว” ก็มีตำนานเล่าขานกันมาหลายกระแสไม่แพ้กัน
บ้างก็ว่าเมืองนี้แต่ไหนแต่ไรมา เป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ ในลำน้ำอุดมสมบูรณ์ด้วนสัตว์
น้ำนานาชนิด โดยเฉพาะปลาช่อนซึ่งเป็นปลาน้ำจืดรสดีนั้นมีชุกชุม และขนาดใหญ่
กว่าในท้องถิ่นอื่นๆ จนเมื่อนำมาแล่เนื้อทำปลาตากแห้ง จะแล่เพียงสี่ริ้วหรือห้าริ้ว
ตามปกติไม่ได้ ต้องแล่ออกถึง “แปดริ้ว” เมืองนี้จึงได้ชื่อว่า “แปดริ้ว” ตาม
ขนาดใหญ่โตของปลาช่อนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเมือง

นอกจากเรื่องปากท้องซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และมีอิทธิพลต่อความคิดของชาวบ้าน
อย่างมากแล้ว นิทานพื้นบ้าน ซึ่งมีเนื้อเรื่อง ค่อนข้างผาดโผนก็มีส่วนสร้าง
ความเชื่อถือในเรื่องชื่อเมืองได้เหมือนกัน คนในท้องถิ่นพนมสารคามเล่าถึงเรื่อง
“พระรถ-เมรี” ซึ่งเป็นนิทานเรื่องหนึ่งในปัญญาสชาดกว่า ยักษ์ได้ฆ่านางสิบสอง
แล้วลากศพไปยังท่าน้ำ ในบริเวณที่เป็นคลอง“ท่าลาด” แล้วชำแหละศพออกเป็นริ้วๆ
รวมแปดริ้ว แล้วทิ้งลอยไปตามลำน้ำท่าลาด ริ้วเนื้อริ้วหนังของนางสิบสองลอยมา
ออกยัง แม่น้ำบางปะกงไปจนถึงฉะเชิงเทรา เมืองนี้จึงได้ชื่อว่า “แปดริ้ว”

แหล่งที่มา :ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

คำขวัญ
เนื่องจากตลาดอยู่ในอำเภอเมือง จึงใช้คำขวัญของอำเภอเมือง
"เมืองธรรมะ พระศักดิ์สิทธิ์ ชิดเมืองหลวง
มะม่วงหวาน ข้าวสารขาว มะพร้าวหอม"


วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

คำว่า "แปดริ้ว" เป็นชื่อเล่น ชื่อจริงน่ะ "ฉะเชิงเทรา"

ที่มาของคำว่า สี่แยกท่าไข่ เพราะคลองเป็นสี่แยก
บรรยากาศแบบเก่า ๆ ยังมีเรือพาย ทักทายกันนะ

viranee เป็นคนแปดริ้ว ชื่อก็บอกแล้วว่า viranee คนแปดริ้ว ไม่น่าจะต้องอธิบาย
บ้านอยู่ตลาดโบราณ เป็นชื่อทางการค้าน่ะ ชื่อจริง ๆ ชื่อว่า ตลาดสี่แยกท่าไข่
คลองนครเนื่องเขต เป็นตลาดน้องใหม่ของจังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดได้ประมาณปีกว่า ๆ
น่าเที่ยว ยังใส ๆ อยู่ นะ ว่าง ๆ ลองไปเที่ยวดู จากการสอบถามความเห็นนักท่องเที่ยว
บางคนบอกว่าเหมือนอัมพวา บางคนก็ว่า เหมือนตลาดบ้านใหม่ แต่ว่าเราว่าเหมือนไป
เที่ยวหลายตลาดทั้งตลาดบกและตลาดน้ำ ของกินอาจไม่โดดเด่น แต่บรรยากาศไม่เป็นรองใคร